เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 9.45 น นายประสาท สมจิตนึก ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนจากผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิต 19 ที่เข้มงวดในช่วงต้นไตรมาสรวมถึงมาตรการจำกัดการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนหยุดชะงักชั่วคราว ก่อนจะทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาสจากการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าว โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวสูงตามการใช้จ่ายในทุกภาคหมวดจากกำลังซื้อที่อ่อนแอและผลของมาตรการควบคุมการระบาดโรคโควิด 19 ด้านผลการผลิตการเกษตรหดตัวจากผลของภัยแล้ง การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแออย่างไรก็ดีการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนหลัง พ.ร.บ.งบประมาณ 2563 มีผลบังคับใช้ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ จากอัตราเงินเพิ่มเฟ้อหมวดพลังงานที่สูงตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามราคาตลาดโลกประกอบกับค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปาที่ลดลงตามมาตรการบรรเทาค่าครองชีพขณะที่หมวดอาหารชะลอตัวลงจากราคาข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ เป็ดและไก่ ด้านตลาดแรงงาน ยังเปราะบาง สะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นมาก ภาคการเงิน(ณ.สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563)เงินฝากคงค้างขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจจากเงินฝากออมทรัพย์ที่ขยายตัวตามมาตรการเยียวยาภาครัฐและความต้องการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจและนักลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจที่มีความไม่แนนสูง ด้านยอดเงินสินเชื่อคงค้างขยายตัวเล็กน้อยจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องขยายระยะเวลาและมาตรการพักชำระหนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบของโควิด19 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวจากสินเชื่อครัวเรือนตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ที่ลดลง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
4 สิงหาคม 2563