Mekong Forum ครั้งที่ 10 : อนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ปูทางสู่อนาคต
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดิจิตอล
จังหวัดขอนแก่น, 31 กรกฎาคม 2024 – ในพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ของการประชุมสัมมนา Mekong Forum ครั้งที่ 10 สถาบันความร่วมมือเพื่อ
พัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute; MI) และพันธมิตรได้รวบรวมผู้มีส่วนได้เสียประมาณ 300 คนจากกว่า 25 ประเทศ มาร่วมกัน
แลกเปลี่ยนและหารือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุ-ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ในช่วงสิบปีที่ผ่าน โดยงานประชุมสัมมนาประจำปีนี้นี้มีบทบาท
สำคัญในการเป็นเวทีในการพูดคุย สนทนาและแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคล่มน้ำโขง (GMS) สำหรับการปรประชุม
ในปีนี้ได้เลือกหัวข้อ “การข้ามผ่านสู่ขอบฟ้าใหม่: การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และเทคโนโลยี (DIT) ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” เพื่อกำหนด
อนาคตในด้านนวัตกรรมและขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองในอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง
นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานทุกท่านอย่าง
อบอุ่น โดยกล่าวเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของพันธมิตรและผู้สนับสนุนในการทำให้งานครั้งนี้เกิดขึ้นและผ่านไปได้ด้วยดี โดยกล่าวว่า “งานการ
ประชุมสัมมนา Mekong Forum เป็นเวทีเปิดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมารวมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่มีความสำคัญกับอนุภูมิภาคล่มน้ำโขง รวมทั้งระบุแนวทางแก้ไขที่จะนำไปสู่ประโยชน์ของทุกภาคส่วน นี่คือสิ่งที่ Mekong Forum ท่า” นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเชื่อม
ช่องว่างระหว่างนโยบายและการนำไปปฏิบัติโดยใช้ประโยชน์และศักยภาพจากการมีอยู่ของเทคโนโลยีดิดิจิทัล “ในขณะที่มีนโยบายอยู่แล้ว
เราต้องแน่ใจว่านโยบายเหล่านั้นได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล วิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายนี้คือการใช้ประโยชน์จาก
เทคโนโลยีดิจิทัลและร่วมกันหารือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่ที่สด”อีกทั้งยังมีการกล่าวสุนทรพจน์จากท่านอื่นๆได้แก่ H. E. Mr. Chea
Chanthum, ประธานสภาสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการด้านประชากรและการพัฒนา
กระทรวงการวางแผน ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และ
คุณไพศาล หรูพาณิชย์กิจ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศอีกทั้งในการเปิดงาน ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการ
บริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ได้มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษเพื่อหารือถึงวิธีการออกแบบให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามี
บทบาทและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมไปถึงช่วยขับเคลื่อนนวัดกรรมในภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของปัญญา
ประดิษฐ์ (Al) และผลกระทบที่ตามมาอย่างมีนัยสำคัญต่อออุดสาหกรรมในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญคือการเน้นยำถึงความสำคัญของความรู้ดิจิทัล รวม
ไปถึงความท้าทายระดับโลก เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์และช่องว่างทางดิจิทัล อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถลดต้นทุนสร้างโอกาส ลดช่องว่างทางสังคม และป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้อีกด้วย
Dr. Aladdin Rillo กรรมการผู้จัดการฝ่ายการออกแบบนโยบายและการดำเนินงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งอาเซียนและเอเชียตะวันออก
(ERIA) ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งยังเน้นย้ำ
ถึงความสามารถของเทคโนโลยีที่สามารถขับเคลื่อนอนาคตอันยั่งยืนได้นั้นมักจะมาพร้อมกับความร่วมมือของทั้งภาครัฐ บุคลากรที่มีความสามารถ และความไว้วางใจของประชาชน ทั้งยังได้แนะนำศูนย์วัฒนธรรมดิจิทัลและเศรษฐกิจยั่งยืน (E-DISC) โดยนำเสนองานวิจัยและความพยายามในการสร้างศักยภาพเพื่อส่งเสริมความเป็นดิจิทัลและอนาคตที่ยั่งยืนในการกล่าวปาฐกถาลำดับสดท้ายโดย คุณ Lidong Bing ผู้อ่านวยการห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีภาษาของเครืออาลีบาบา ได้สำรวจจการนำปัญญาประดิษฐ์ (Al) มาใช่ในการรังสรรค์ผลงานในวงกว้าง รวมถึงผลกระทบที่มีต่อภูมิทัศน์ทั่วโลก ทั้งยังให้ความสำคัญกับกับโมเดลภาษาขนาดใหญ่(LLMs) โดยเน้นไปที่ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEALLMs) ที่ออกแบบมารองรับภาษาภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต่โดยเฉพาะ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาการแสดงประสิทธิภาพ และผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้
คุณ Bing ยังได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสามารถของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEALLMs) ที่สามารถลดช่องว่างทางดิจิทัลและส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีครอบคลุมพื้นที่ในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคหลังเสร็จสิ้นช่วงการกล่าวปาฐกถา คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระดับโลกและระดับท้องถิ่นได้หารือเกี่ยวกับความพร้อมของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ในหัวข้อเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ดำเนิน
พิธีการโดย ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ ที่ปรึกษากิดติมศักดิ์ Bolliger andCompany และอดีตผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง โดยในงานมีคณะผู้ร่วมเสวนาได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโอกาส และลำดับความสำคัญระหว่างรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม,การฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI), ความร่วมมือด้านความ
ปลอดภัยทางไซเบอร์, ความสำเร็จของ E-Commerce และการการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วหรือ Startup
งานประชุมสัมมนา Mekong Forum 2024 จัดขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 จนถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2567 โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างกลยุทธ์
นวัตกรรมระดับภูมิภาคที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์อนุ-ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 230 (GMS-2030) และเป้าหมายด้านดิจิทัลและความร่วมมือของภูมิภาคในอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหวังของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงงาน โดยภายในงานประชุมสัมนาทั้งสองวันยังถูกแบ่งออกเป็นการประชุมย่อยจำนวน 7 หัวข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรวมกว่า 30 ท่านเป็นผู้ดำเนินการประชุมกล่าวถึงประเด็นหลักสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดีจิทัล นวัดกรรม และเทคโนโลยี (DIT)งานประชุมสัมมนา Mekong Forum 2024 ปีนี้ได้รับการสนับสนุนหลักจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและโครงการช่วยเหลือนิวซีแลนด์
(NZAP) นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานจัดการประชุมและนิทรรศการ (TCEB), ศูนย์วิจัยและนวัตรกรรมมิตรผล, บริษัทไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สถาบันนานาชาติ Winrock, สถาบันธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADBI), สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA), กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF), กระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย (DFAT),สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม (SEI), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และองค์กรเยาวชนอาเซียน (AYO)