ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จัดกิจกรรมการรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ ปี 2566 พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้แก่ร้านอาหารที่ใช้เกลือและเพิ่มเติมรสเสริมไอโอดีน ในการประกอบอาหารจำหน่ายให้กับประชาชน ที่มารับบริการ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคขาดสารอาหารในเขตสุขภาพที่ 7 ทั้งนี้ ทุกร้านต้อง ปรุงภายใต้การกินเค็มพอดีแต่ต้องมีไอโอดีน
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ที่ ตลาดต้นตาล จังหวัดขอนแก่น นพ.ชาตรี เมธาธราธิป ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น มอบหมายให้ นางจารินี ยศปัญญา รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ด้านวิชาการ เป็นประธานเปิดการรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ ปี 2566 พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้แก่ร้านอาหารที่ใช้เกลือและเพิ่มเติมรสเสริมไอโอดีน ในการประกอบอาหารจำหน่ายให้กับประชาชน ที่มารับบริการ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคขาดสารอาหารในเขตสุขภาพที่ 7 ทั้งนี้ ทุกร้านต้อง ปรุงภายใต้การกินเค็มพอดีแต่ต้องมีไอโอดีน โดยมี นางชัญญานุช ปานนิล นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ การใช้เกลือและเครื่องปรุงเสริมไอโอดีน ,นายยุทธยา สุภาปัญญากุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ การใช้ยาเม็ดเสริมไอโอดีน เหล็กและโฟลิก ,น.ส.วนิดา สิงห์บุราณ นักประชาสัมพันธ์ เป็นวิทยากร เจ้าหน้าที่ฯ และแขกผู้มีเกียรติ ตลอดจนพ่อค้า แม่ค้า ร่วมงาน
นางจารินี ยศปัญญา รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กล่าวว่า ตนรู้สึกยินดี และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานรณรงค์วันไอโอดีน วัตถุประสงค์ในการจัดงานในวันนี้ เพื่อสร้างความรอบรู้การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนให้กับพี่น้องประชาชนทุกวัย โรคขาดสารไอโอดีนยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบภาวะขาดสารไอโอดีนทุกกลุ่มวัย ถึงแม้ว่าสาธารณสุขเราจะดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหานี้มาอย่างยาวนานก็ตาม โดยภาวะขาดสารไอโอดีนส่งผลกระทบต่อทุกคนเป็นวงจรต่อเนื่อง หมายความว่าหากเกิดการขาดในหญิงตั้งครรภ์ จะทำให้ลูกที่อยู่ในท้องแม่ขาดด้วย ซึ่งการขาดตั้งแต่เป็นเด็กทารก จะทำให้สมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ พัฒนาการทางสมองช้า ส่งผลถึง
ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ความฉลาดต่ำลง ในเด็กที่ขาดอย่างรุนแรง อาจส่งผลร้ายจน
เกิดความพิการทางสติปัญญาได้ รวมทั้งส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในช่วงวัยถัดๆไปอีกด้วย อัน
เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศชาติ
นางจารินี กล่าวและว่า การจัดงานรณรงค์ในวันนี้ถือเป็นการจุดประกายในการร่วมมือกันแก้ปัญหาในทุกภาคส่วนง่ายๆโดยเริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล ครัวเรือน ร้านอาหาร ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาง่ายนิดเดียว ขอเพียงทุกท่านปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร คือ 1. กินอาหารที่มีไอโอดีน(กลุ่มอาหารทะเล ) 2. เน้นใช้เกลือและเครื่องปรุงเสริมไฮโอดีนทุกครั้งที่ปรุงอาหาร โดยกินเค็มพอดี แต่ต้องมีไอโอดีน ทำได้ 2 ข้อนี้ท่านได้รับไอโอดีนเพียงพอแล้ว ดังนั้นวันนี้เราจะมารวมพลังสร้างตลาดที่ผลิตอาหารที่มีไอโอดีน
ทุกร้าน ในตลาดตันตาลแห่งนี้ เพื่อให้พี่น้องเราที่มาใช้บริการที่นี่ได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอเมื่อมารับประทานอาหารนอกบ้าน และส่วนที่นี้สำคัญคือ หญิงตั้งครรภ์ ต้องได้รับและกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน เหล็กและโฟลิก เพิ่มวันละ 1 เม็ด ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้ได้รับเพียงพอเช่นกัน ผมขอฝากทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ ทั้งร้านอาหารในตลาดต้นตาล และพี่น้องเรา รวมทั้ง อสม. ที่เป็นกำลังหลักด้านสาธารณสุขในการดูแลพี่น้องประชาชนเรา ผ่านการดำเนินงานชุมชน-หมู่บ้านไอโอดีน ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ โดยในปีนี้เริ่มสัปดาห์รณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 25-30 มิถุนายน 2566 นี้
ด้าน นางชัญญานุช ปานนิล หัวหน้ากลุ่มวัยทำงาน นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กล่าวว่าในนามคณะผู้จัดงานรณรงค์ฯ ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้เกียรติ มาเป็นประธานเปิดการรณรงค์ วันไอโอดีนแห่งชาติ ประจำปี 2566 ในวันนี้ภาวะขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อ
คุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การขาดสารไอโอดีนในเขตสุขภาพที่ 7 ยังคงพบปัญหาในทุกพื้นที่ ทั้งในเขตชนบทและในเขตเมือง ดังข้อมูลคือ 1) การใช้เกลือและเครื่องปรุงเสริมไอโอดีนในครัวเรือน ยังไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน และยังพบมีการใช้เกลือที่ไม่มีสารไฮโอดีนอีกด้วย ส่วนคุณภาพเกลือเสริมไฮโอดีน 20-40 ppm. พบร้อยละ 89.8 ดำเนินงานชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ร้อยละ 35.7 และค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์เท่ากับ 129.0 ไมโครกรัมต่อลิตร ซึ่งหมายความว่าประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ยังพบความเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน และวิถีชีวิตปัจจุบันคนไทยมากกว่าร้อยละ 30 มีการรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ ซึ่งเท่ากับครัวหลักของคนไทย ขณะนี้อยู่ที่ร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้าน
แผงลอยและร้านอาหารทั่วไป ซึ่งในกลุ่มร้านจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ ยังพบว่า บางแห่งไม่ใช้เกลือและเครื่องปรุงรสที่มีไอโอดีนในปี 2566 นี้ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จึงได้จัดรณรงค์สร้างความตระหนักในการใช้เกลือและเครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีนในกลุ่มร้านอาหารในเขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งตลาดต้นตาลเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น มีร้านจำหน่ายอาหารมากกว่า 200 ร้าน ที่ประชาชนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด มากกว่าวันละ 5,000 คน มาใช้บริการ จึงมีความจำเป็นที่ทุกร้านในตลาดตันตาลต้องใช้เกลือและเครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีน จะทำให้พี่น้องประชาชนผู้มารับบริการ
ได้รับไอโอตีนจากอาหารทุกเมนู.