มหาวิทยาลัยชอนแก่น จับมือบริษัทน้ำตาลราชบุรี หนุนอุสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG (Bio Circular-Green Economy)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับ บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด โดยมี รค.นพ.ชาญชัย พานทองวัริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่ คุณอารยา อรุณานนท์ชัย คุณจุฑาทิพย์อรุณานนท์ชัย ดร. จุทามาศ อรุณานนท์ชัย กรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลราชบุรี ร่วมลง
นาม ในการนี้ มีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิวิคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น การลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับบริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเพื่ อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG(Bio-CrcularGreen Economy) ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคอุดสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มมูลค่า และศักยภาพการในการแข่งขันโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด ได้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการร่วมมีอระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทธุรกิจเอกชน
ในต้านการศึกษา การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการองค์ความรู้ การวิจัย การพัฒนา เทตโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมถึงอุดสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนห้องถิ่น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน(crcuiar economy) เศรษฐกิจสีเขียว (green economy) และการแปรรูปชีวมวล(bio efnery) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการเพิ่มมูลค่า และศักยภาพการในการแข่งชันระดับประเทศ
สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความยินดียิ่งในการให้ร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ 1) ร่วมมือในการจัดการศึกษาและพัฒนากำลังคน ได้แก่ การปรับปรุงและ พัฒนาหลักสูตร จัดฝึกอบรม การเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะด้นอ้อยและน้ำตาล ให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยี และคณะวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาให้ไปฝึกงานและสหกิจศึกษา ณ บริษัทในกลุ่มโรงงานน้ำตาลราชบุรี 3) สนับสนุนงานด้านวิชาการและวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง 4)
สนับสนุนด้านสถานที่และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักวิจัยสามารถทำการค้นคว้าในโครงการพิศษได้ตามความเหมาะสม และ 5) ให้ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ของกลุ่มบริษัทโรงงานน้ำตาลราชบุรี เกษตรกร และบุคลากรของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนากำลังคนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อเพิ่มศักยภาพการ
ในการแข่งขันของตลาดได้อย่างยั่งยืนต่อไป