วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมแก่นเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น จัดพิธี Kick Off และพิธีลงนามประสานความร่วมมือ ( MOU ) ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ยุทธศาสตร์ “แก่นคูน เกื้อกูล คนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกัน” บูรณาการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
โดยมี นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี และมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทุกอำเภอ พัฒนาการอำเภอ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สื่อมวลชน และประชาชน ร่วมกิจกรรม
นายพนม สิงห์สาย พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น กล่าวรายงาน ข้อมูลการดำเนินงานขจัดความยากจนของจังหวัดขอนแก่น ก่อนพิธี Kick Off ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณ ข้าราชการคู่เสี่ยวที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 10 คน และประกาศเจตนารมณ์จังหวัดขอนแก่น ในการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ยุทธศาสตร์ “แก่นคูน เกื้อกูล คนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกัน”
และได้รับเกียรติจากนายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบแนวทางการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคน ทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่คณะทำงานทุกระดับ ตามด้วยพิธีลงนามประสานความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดขอนแก่น ระหว่าง 7 ภาคีการพัฒนา ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน วิชาการ ศาสนา สื่อมวลชน ประชาสังคมและประชาชน โดยมีผู้แทนแต่ละภาคีร่วมลงนาม กับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น จากนั้นเป็นการเริ่มพิธี Kick Off “แก่นคูน เกื้อกูล คนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกัน” โดยนายอำเภอทั้ง 26 อำเภอ ร่วมกันแสดงพลังในการร่วมขับเคลื่อนการขจัดความยากจน โดยการปักหมุดแผนที่อำเภอ ปิดท้ายด้วยผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัว 360 ครอบครัว ในศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล จำนวน 1,080,000 บาท มอบเงินอุดหนุนศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จำนวน 780,000 บาท และมอบคำสั่งให้กับผู้แทนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 224 ตำบล
(priest)นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความ เหลื่อมล้ำ และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างบูรณาการ ดำเนินการขับเคลื่อนโดยมีศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (นายสมศักดิ์ จังตระกุล) เป็นประธานฯ และมีการจัดตั้งกลไกในระดับต่าง ๆ ได้แก่ (1) ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและ พัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ) (2) ทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ (priest)นายพนม สิงห์สาย กล่าวว่า แนวทางการขับเคลื่อนผ่าน 4 แนวทาง 1 เงื่อนไขการพัฒนา ดังนี้ (1)การเติมเต็มข้อมูลให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาทุกมิติและทุกพื้นที่ในขอนแก่น (2)ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครัวเรือน ด้วยการลงพื้นที่ แก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ ทั้งกลุ่มเป้าหมายในระบบ TPMAP ที่มีปัญหาความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติความเป็นอยู่ มิติการศึกษา มิติรายได้ และมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ จำนวน 20,563 คน กลุ่มคนที่ ตกหล่นจากระบบ (exclusion error) และกลุ่มคนเปราะบาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถอยู่รอดและดำรงชีพอยู่ได้ (3) ร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยให้ ศจพ. ร่วมกับทีมปฏิบัติการฯ และภาคีการพัฒนา ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงของกลุ่มเป้าหมายและบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป (4) ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนา โดยใช้ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ไขปัญหา ความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยได้อย่ำงมีประสิทธิภาพ (thumbtack)ในโอกาสนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่จังหวัดขอนแก่น จะได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้อุดมการณ์ การทำงาน “พัฒนาคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน พัฒนาคนทุกช่วงวัย” ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 มีเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนา แล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี จังหวัดขอนแก่นได้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) เพื่อเป็นกลไกเชิงนโยบายในการบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคนทุกช่วงวัย ในทุกพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) ซึ่งในปัจจุบันมีกลไกการทำงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการ ปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) 26 แห่ง จัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลนคร/เทศบาลเมือง (ศจพ.ทน./ศจพ.ทม.) เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 6 แห่ง และระดับปฏิบัติการ โดยจัดตั้งทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ รวม 211 ทีม โดยมีการจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงเพื่อดูแล ติดตามการแก้ปัญหา ความยากจนของครัวเรือนอย่างใกล้ชิด ใน 26 อำเภอ แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามภารกิจ 5 มิติระดับจังหวัด แต่งตั้งทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพื้นที่ระดับหมู่บ้าน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งศูนย์ช่วยสังคมตำบล 224 ตำบล เพื่อให้การสนับสนุน ได้สร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานให้กับคณะทำงานทุกระดับ และประชุมฝึกอบรมการใช้งานระบบ TPMAP Logbook ให้กับทีมปฏิบัติการ มีการตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ของทีมปฏิบัติการ จังหวัดขอนแก่นมีครัวเรือนเป้าหมาย 3,569 ครัวเรือน 9,090 คนพัฒนาการจังหวัดขอนแก่น กล่าวทิ้งท้าย
ปรีญาพัชญ์ เลิศฤทธิ์ : ข่าว