1. การเรียนผ่านหนังสือ
การเรียนการสอนแบบนี้เป็นการสอนขั้นพื้นฐานที่เหมือนกับการเรียนในช่วงสถานการณ์ปกติ โดยคุณครูมีการจัดเตรียมชีท เอกสาร หรือหนังสือมาให้นักเรียนได้อ่านและทำความเข้าใจ เพียงแต่ในภาคการเรียนที่จะถึงนี้อาจต้องมีการแบ่งกลุ่มเรียนให้จำนวนคนในแต่ละกลุ่มมีน้อยลง เพื่อที่จะสามารถรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือการสื่อสารผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งคุณครูอาจจะมีการเข้าไปตรวจสอบและเยี่ยมนักเรียนที่บ้านบ้างตามความเหมาะสม
2. การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ช่องทางโทรทัศน์ถือเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงนักเรียนได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้การเรียนการสอนแบบนี้ยังเป็นสากลที่หลาย ๆ ที่ใช้กัน อีกทั้งทาง สอศ. จะมีการทำลิ้งก์เชื่อมโยงไปบนแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง ยูทูป (Youtube) และ เฟซบุ๊ก (Facebook) เพื่อให้ครอบคลุมและเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้นกว่าเดิม
3. การสอนผ่านออนไลน์
ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า จึงทำให้มีโปรแกรมฟรีที่สามารถใช้เป็นสื่อการสอนได้อย่าง Zoom และ Microsoft Team มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สอศ. ก็พยายามที่จะผลักดันการสอนออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้การเรียนการสอนมีการพัฒนาให้เท่าทันเทคโนโลยี ถึงแม้ว่าในอนาคตสถานการณ์ของโรคระบาดจะคลี่คลายแล้วก็ตาม
4. การสอนสด (Live)
การเรียนการสอนแบบนี้จะมีประโยชน์กับในวิชาที่คุณครูกำลังคลาดแคลนอย่างเช่น สาขาช่างอากาศยาน โดยที่ผ่านมาสาขาวิชาดังกล่าวจำเป็นต้องจ้างบุคลากรภายนอกเข้ามาสอน แต่หากทางอาชีวะสามารถปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนมาเป็นลักษณะการสอนสด (Live) ได้ จะทำให้นักเรียนในวิทยาลัยทุกแห่งสามารถเรียนเนื้อหาวิชาดังกล่าวได้แบบพร้อม ๆ กัน