รีบเลย เกษตรกร! “มข.” ชู!ใบบัวบกพืชเศรษฐกิจ ยกฐานะวิสาหกิจชุมชน รับซื้อบัวบกแห้ง ให้ กก.ละ 700 บ.
สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มข.และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูก และแปรรูปสมุนไพรและผลผลิตทางการเกษตร บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลบ้านหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในลักษณะ BCG econmy หรือ Bio-econmy เศรษฐกิจชีวภาพครบวงจร ส่งเสริมการปลูกบัวบกซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจโดยปลูกแบบอินทรีย์ไม่มีสารปนเปื้อนเพื่อนำมาสกัดเป็นสารสำคัญและนำไปต่อยอดเป็นสารสกัดทางธุรกิจและเวชสำอาง,อาหารสุขภาพ และยาสมุนไพร ซึ่ง คณะเภสัชศาสตร์ มข.รับซื้อบัวบกแห้งที่ปลูกแบบอินทรีย์ กิโลกรัมละ 700 บาท
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการศึกษาและบริการวิชาการ มข.
เมื่อเวลา 09.15 น.วันที่ 28 ธ.ค.ที่ ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการศึกษาและบริการวิชาการ มข.เป็นประธานเปิดตัวเศรษฐกิจชุมชนในลักษณะ BCG econmy เช่น Bio-econmy เศรษฐกิจชีวภาพครบวงจรโดยมีการส่งเสริมการปลูกบัวบกซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจโดยปลูกแบบอินทรีย์ไม่มีสารปนเปื้อนเพื่อนำมาสกัดเป็นสารสำคัญและนำไปต่อยอดเป็นสารสกัดทางธุรกิจและเวชสำอาง,อาหารสุขภาพ และยาสมุนไพรโดยมี ผศ.ดร.ณัฏฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการศึกษาและบริการวิชาการ มข. รศ.ดร.ไพบูลย์ ดาวสดใส คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มข.,นายธวัช รัตนมนตรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักบริการวิชาการ ประธานวิสาหกิจชุมชน ดร. จารุพงศ์ ประสพสุข นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วยนายเสถียร ยอดสิงห์ ประธานวิสาหกิจชุมชนหนองหญ้าม้า ต.หนองเหล็ก อ.โกสุมวิสัย มหาสารคาม ต้นแบบของเกษตรอินทรีย์ และเจ้าหน้าที่ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมงาน
รศ.ดร.ไพบูลย์ ดาวสดใส คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการศึกษาและบริการวิชาการ
รศ.ดร.ไพบูลย์ ดาวสดใส คณบดี คณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า บัวบก (Gotu kola) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Centella asiatica (L.) Urb. จัดเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญที่จะถูกแปรรูปเป็นสารสกัดเพื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพทางนี้บัวบกมีประโยชน์มากมายและมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายสารสำคัญที่พบในบัวบกจัดอยู่ในกลุ่มไตรเทอปินอยด์ไกลโคไซด์ (Triterpenoid glycoside)ประกอบด้วยกรดเอเชียติก (Asiatic acid)สารเอเชียตีโคไซด์ (Asiaticoside) กรดแมดิแคสซิค (Madecassic acid) หรือสารแมดิแคสซอล (Madecassol) ซึ่งสามารถลดความเสื่อมของเซลล์อวัยวะต่างๆของร่างกายได้ และยังช่วยเร่งการสร้างสารคอลลาเจน ที่ทำให้ผิวพรรณดีลดรอยเหี่ยวย่นได้ดีด้วย ที่เป็นโครงสร้างของผิวหนังจึงมีการนำบัวบกมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็ว โดยพืชบัวบกจัดอยู่ในบัญชียาสมุนไพรแห่งชาติ ทั้งในรูปแบบและรูปแบบยาทาภายนอก เพื่อลดอาการฟกช้ำ อีกทั้งมีรายงานว่าใบบัวบกมีประโยชน์ทางการแพทย์มากมาย ได้แก่ช่วยบำรุงประสาท และความจำเพิ่ม ,การไหลเวียนเลือด ,บำรุงหัวใจ ,บำรุงตับ เป็นต้น
รศ.ดร.ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการนำวัตถุดิบบัวบกมาสกัดด้วยเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม เช่น การสกัดด้วยเครื่องไมโครเวฟและเครื่องสกัดแรงดันสูง (Supercritical Fluid Extraction (SFE) เครื่องสกัดแบบร้อนและเย็น เพื่อให้ได้สารสำคัญที่สูงขึ้น และสะดวกในการนำไปเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งอาหารเสริม เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์บัวบกอย่างครบวงจร ตั้งแต่ส่งเสริมการปลูก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จะทำให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ และขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ จะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดให้นักวิชาการประชาชนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สนใจนำไปสู่การส่งเสริมรายได้สู่ภาคเกษตรกรรมและชุมชน สามารถปลูกในรอบปีได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 เดือนซึ่งจะลำบากในช่วง 3 เดือนแรก ในช่วงหลังอีก 6 เดือนจะเป็นการต่อยอด ทำให้ง่ายขึ้นในการปลูกด้านรศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการศึกษาและบริการวิชาการ มข. กล่าวว่า เป็นโอกาสแรกที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทำงานร่วมกับชุมชน โดยสำนักบริการวิชาการโดยการยกระดับวิสาหกิจชุมชน อีกแบบหนึ่ง เศรษฐกิจแบบเดิมว่าเราทำมายังไง มิติใหม่ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อจะยกฐานราก ซึ่งตอนนี้ถือว่า 60% ของประเทศที่ตั้งความหวังไว้กับ เศรษฐกิจฐานรากตรงนี้ เศรษฐกิจแบบสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กระทำมาในช่วง 10- 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจแบบเดิม มันก็ได้เป็นเศรษฐกิจฐานรากชนิดหนึ่ง ซึ่งคิดว่าเราจะทำยังไงในยุคใหม่ เดี๋ยวทางคณะเภสัชศาสตร์จะได้เล่าให้ท่านฟัง ตอนนี้ทางรัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงของทาง เศรษฐกิจฐานราก 60% ส่วน 60% คือฐานราก แต่จริงๆ 30% คือ sme , ไมโคร sme พวกนี้ก็อยู่ในฐานรากที่ลำบาก ส่วน 10% ที่เป็นฐานสูงของประเทศนั้น เขาไม่ได้ช่วยดึงเศรษฐกิจฐานรากขึ้นไปได้จริง ยิ่งในสถานการณ์โควิดนั้นเศรษฐกิจพื้นรากเป็นตัวกระตุ้น เศรษฐกิจได้ดี เทคโนโลยีขั้นสูงที่สะสมมานาน ว่า จะเข้าไปช่วยยังไง ซึ่งเราเปิดตัววันนี้ทางคณะเภสัชศาสตร์มีเทคโนโลยีขั้นสูงมากมาย ที่เรียกว่ามาสกัดเป็นสารจากพืชต่างๆได้
นายธวัช รัตนมนตรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ส่วนนายธวัช รัตนมนตรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักบริการวิชาการ มข. กล่าวว่า สำนักบริการวิชาการก็ได้ก่อตั้งมาปีนี้เป็นปีที่ 37 เราก็ได้มีชุมชนต้นแบบไว้คอยสนับสนุน ไว้ยกระดับหลายอย่างเช่นปลูกเห็ด และเลี้ยงสัตว์อะไรต่างๆ เราก็ได้เอาอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นลงในพื้นที่ แต่ก็ได้แค่ระดับหนึ่ง ที่จะทำเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน ซึ่งเรามองก้าวกระโดดไปในยุค พัฒนา ซึ่ง ได้เอาสิ่งที่เราลงในพื้นที่ หรือเห็นจริง ที่เราอยู่มา 30 กว่าปีนี้ เราได้ไปเห็นผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นพืชสมุนไพร ทางคณะเภสัชได้นำเอาผลิตภัณฑ์นั้นมาแปรรูปหรือสกัดเป็นสาร ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะสกัดให้เกิดมูลค่าสูงสุด มากกว่าเดิม ครั้งก่อนตามที่เราได้เอาเงินไปลงทุน 10-20 ล้านก่อนนั้น ยกระดับให้ไปสนับสนุนเพื่อให้เกษตรกร มาตรฐานในการปลูกพืช และในการเลี้ยงสัตว์ต่างๆแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ แค่ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่สามารถยกระดับเศรษฐกิจอีกหนึ่งได้ ดังนั้นทางท่านรองอธิการบดีฯจึง ได้มีความคิดที่จะยกระดับ เศรษฐกิจให้เป็นอีกระดับหนึ่ง เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงของคณะต่างๆเช่น คณะวิทยาศาสตร์ ,คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะอื่นๆที่มีนวัตกรรม ที่สามารถจะมาสังกัดพืชตัวนี้ได้ ที่จะทำให้เกิดสิ่งที่มีมูลค่ามากขึ้นได้
นาย เสถียร ยอดสิง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปสมุนไพรและผลผลิตทางการเกษตรหนองหญ้าม้า
นายเสถียร ยอดสิงห์ ประธานวิสาหกิจชุมชนหนองหญ้าม้า ต.หนองเหล็ก อ.โกสุมวิสัย มหาสารคาม ต้นแบบของเกษตรอินทรีย์ ประธานวิสาหกิจชุมชน บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลบ้านหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่ารู้สึกดีใจมากที่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าไปซื้อใบบัวบกแห้ง ก็ถือว่าเป็นราคาที่ดีมากและใช้ได้ ถือว่า เป็น ขวัญและกำลังใจให้วิสาหกิจชุมชนได้มีกำลังใจปลูกพืช บัวบก ได้เยอะ ทำแบบระบบอินทรีย์ ในช่วง 3 เดือนแรกที่ปลูกจะเป็นช่วงที่ยุ่งยากเพราะปลูกแบบอินทรีย์ โดยเริ่มปลูกกันแบบครอบครัว โดยมีการรวมตัวกันปลูกประมาณ 7 ครอบครัว ใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 3 ไร่ ปลูกมากไม่ได้เพราะมันดูแลยาก เพราะต้องปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี แต่ถ้าทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้นทางวิสาหกิจชุมชนก็สามารถหา เครือข่ายหรือเกษตรกรที่จะปลูกให้ได้ เพราะในหมู่บ้านก็มีความสนใจอยู่หลายชุมชน เหมือนกัน ส่วนเวลาในการเก็บเกี่ยวคือช่วง 3 เดือนแรก เพราะโตช้าแต่ช่วงที่ 2 ก็สามารถตัดได้เร็วขึ้น ส่วนการได้รับการสนับสนุนหรือข้อมูลจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจากดร.จารุพงศ์ประสพสุข นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมวิชาการเกษตร ในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ดังกล่าว.
ชูไทย/ภาพข่าว