กฟผ.นำสื่อมวลชนขอนแก่นศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี /
กฟผ.นำสื่อมวลชนขอนแก่นศึกษาดูงาน การดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรเมื่อเวลา 10:00 น วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธร นายชาญชัย พรนิคม นายช่างระดับ 7 โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ นำสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรกำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ ใช้พื้นที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 450 ไร่ พื้นที่โครงการ 760 ไร่ ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร โดยมี นายนิคม โกเอี่ยม หัวหน้าหน่วยประสานงานและบริหารทั่วไป นางสุวิภาโชติกหัวหน้าหน่วยวิศวกรรมและก่อสร้าง นายอาทิตย์ พรคุณา วิศวกรระดับ10 กองไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร เป็นวิทยากร พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารผู้ปฏิบัติงาน บริษัทบีกริมเพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประมูลงานก่อสร้างโครงการ ร่วมนำเสนอข้อมูลแนวการดำเนินงานโครงการความ ก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการในปัจจุบันและการสร้างสะพานทางเดินธรรมชาติความยาว 410 เมตร เพื่อเป็น Landmark ของจังหวัดอุบลราชธานีสนับสนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตตลอดจนปัญหาอุปสรรคผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ปัจจุบันประโยชน์ของโครงการในด้านต่างๆต่อสื่อมวลชน คุณสุวิภาโชติก หัวหน้าหน่วยวิศวกรรมและก่อสร้างกล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำเป็นการนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการติดตั้งบนพื้นดินซึ่งที่นี่จะเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยนวัตกรรมนี้จะใช้การผสมผสานของพลังแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันและใช้พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนโดยพื้นที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะใช้พื้นที่ทั้งหมด 450 ไร่ ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้วันละ 45 เมกะวัตต์ เพื่อเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำของเขื่อนสิรินธรที่ผลิตได้ 36 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าจะเป็นการลดงบประมาณการผลิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยแผงโซล่าเซลล์ที่กำลังนำมาติดตั้งนี้จะเป็นวัสดุที่น้ำหนักเบาไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชน เป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำของเขื่อนสิรินธรในการติดตั้งไม่กระทบกับพื้นที่การเกษตรของชุมชนรอบข้างเพราะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนต่อเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการวิจัยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำขนาดเล็กที่บริเวณสันเขื่อนสิรินธรปรากฏว่าไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศใต้น้ำ เช่นสาหร่ายชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์น้ำซึ่งจะเป็นผลดี เพาะพันธุ์ปลาต่างๆได้ใช้เป็นที่หลบอาศัยอีกด้วยนอกจากนั้นยังเป็นการลดการระเหยของน้ำได้ ซึ่งการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จะเป็นการตอบสนองความต้องการในการใช้ไฟฟ้าที่มีอัตราความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงทางพลังงานในอนาคตทางด้าน นายนิคม โกเอี่ยม หัวหน้าหน่วยประสานงานและบริหารทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรกล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่าขณะนี้ทางโครงการมีความก้าวหน้าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานและก่อสร้างถนนเพื่อใช้ในการลำเลียงอุปกรณ์เข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและได้ทำการขนส่งอุปกรณ์แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จากประเทศจีนเข้ามาแล้วบางส่วนอย่างไรก็ตามจากปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าของโครงการซึ่งตามแผนกำหนดเดิมจะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2563 แต่อาจจะต้องเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จไปเป็นประมาณกลางปี 2564 นายนิคมฯ กล่าวอีกว่า สำหรับโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 760 ไร่ และมีพื้นที่ในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 450 ไร่ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยว่าโดยหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 45 เมกกะวัตต์เมื่อมีแสงแดดเต็มที่และการผลิตไฟฟ้าจะเป็นแบบผสมผสานโดยการรวม 2 พลังงาน คือพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำและพลังงานน้ำจากเขื่อนสิรินธร โดยมีระบบควบคุมการบริหารจัดการพลังงานซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เสริมความต้องการการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดข้อจำกัดในการผลิตกระแสไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ในขณะที่สภาพแสงแดดไม่เอื้ออำนวย นายนิคมฯกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้โครงการยังได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยการสร้างทางเดินธรรมชาติบริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรเพื่อเป็นจุดชมธรรม ชาติและสามารถมองเห็นโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้ชัดเจนเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วยส่วนข้อเสนอจากกลุ่มผู้ประกอบการแพเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชน ได้ขอให้นำสายเคเบิ้ลลงใต้น้ำเพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำนั้นทางโครงการเราได้ทบทวนตามข้อเสนอโดยได้ออกแบบให้นำสายเคเบิลนำลงใต้น้ำแทนเพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยตามความประสงค์ของกลุ่มผู้ประกอบการแพเพื่อการท่องเที่ยวแล้ว