เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 เวลา 14:00 น ณห้องประชุมแก่นเมืองศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายประภัตรโพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น นายสมศักดิ์จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำเภอทุกอำเภอ เกษตรอำเภอทุกอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ นายสมศักดิ์จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้บรรยายสรุปผลการปฏิบัติงานและประเด็นปัญหาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นต่อ นายประภัตร โพธสุธนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับทราบ นายประภัตร โพธสุธนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม เร่งรัดช่วยเหลือเยียวยาและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อน เร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ซึ่งตนรับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค จำนวน 10 อำเภอ 64 ตำบล ซึ่งได้มีมาตรการเพื่อความพร้อม และ การช่วยเหลือดังนี้ 1.จัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อม 2.เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำของเกษตรกร โดยใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3 แผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยซึ่งในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อยโดยสนับสนุนค่าเมล็ด ถั่วเขียวไร่ละ 200 บาท และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไร่ละ 245 บาท อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรประสบปัญหาจากฝนทิ้งช่วงภัยแล้งและอุทกภัย ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องหาอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ตลอดทั้งปีซึ่งอาชีพด้านการปศุสัตว์และการปลูกพืชสำหรับอาหารสัตว์นั้นสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจ MOU โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทยชื่อโครงการโคขุนกู้วิกฤตโควิด 19 มีวงเงินสินเชื่อ 500 ล้านบาท โดยเกษตรกรต้องรวมกลุ่มจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนอย่างน้อย 7 คนกู้ได้ไม่เกินกลุ่มละ 10 ล้านบาทหรือกู้ 1 ล้านบาทดอกเบี้ย 100 บาทโดยมีตลาดรองรับและมีประกันราคา หากสัตว์เสียชีวิต
สำหรับความต้องการโคเนื้อของต่างประเทศมีมากถึง 5 แสนถึง 1 ล้านตัว/ปี ไก่พื้นเมืองโดยเฉพาะตลาดประเทศกัมพูชาต้องการไม่น้อยกว่าห้าหมื่นตัวต่อปีส่วนแพะมีความต้องการ 2-3 แสนตัวต่อปีและจากการรายงานของ usbr ในปี 2563 คาดว่าความต้องการบริโภคโคเนื้อของโลกมีมากถึง 60 ล้านตันเนื้อสุกร 90 ล้านตัน เนื้อไก่ 98 ล้านตันซึ่งความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นโอกาสของพี่น้องเกษตรกรที่จะได้สร้างรายได้นี่คือความห่วงใยของรัฐบาลที่มีต่อพี่น้องประชาชน