เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 23 ก.ค. ที่โรงแรมวีวิช จังหวัดขอนแก่น ดร.ภูมิภัทร เรืองแหล่ ผอ.สพปขอนแก่น เขต 1 (ประธานกรรมการ บริหารกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 12, ผู้ตรวจราชการกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน )เป็นประธานในการศึกษารายละเอียดรายมาตรา เสนอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ….(ฉบับรัฐบาลตามหนังสือ สคก. 660/2564) ก่อนนำเข้าพิจารณาในรัฐสภาโดยมีนายบัญชา เสนาคูณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 และสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) คณะผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการฯ ร่วมหารือ
นายบัญชา เสนาคูณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กล่าวว่า วันนี้ทางสมาพันธ์ฯจะได้มาสรุป เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ… ฉบับรัฐบาลตามหนังสือ สคก. 660/2564 ตลอดจนการจ้างครูวิกฤต (ครูวิทย์-) คณิต พร้อมทั้งเรื่องการจ้างนักการภารโรง และลูกจ้าง ที่กำลังจะหมดอายุในเดือนกันยายนนี้ โดยในวันนี้เราจะมาสรุปแนวทางหรือทิศทาง การร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ในครั้งนี้จะเป็นไปในทางทิศใด และจะมา
สรุป รวมทั้ง ผอ. เขต ทั้ง 6 เขต ,รอง ผอ.เขต ในสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น และรวมทั้งเครือข่าย ร้อย,แก่น,สารสินธุ์ ทั้ง 4 จังหวัด โดยในวันนี้มาคุยกันในเบื้องต้น ส่วนงานพรุ่งนี้ เวลา 09.00 น.-12.00 น. ทีมคณะกรรมการฯที่มาวันนี้ทั้งหมด จะไปยื่นหนังสือต่อท่านเอกราช ช่างเหลา ประธานกรรมมาธิการฯเกี่ยวกับ ประชามติผู้แทนราษฎรต่อไป ด้าน ดร.ภูมิภัทร เรืองแหล่ ผอ.สพปขอนแก่น เขต 1 กล่าวว่าในการมาประชุมในวันนี้ เป็นการต่อสู้ เพื่อการดำรงไว้ ถึงบ้านของเรานั่นคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมทั้งพี่น้องเราที่เป็น ผอ.เขต ในอนาคตที่กำลังเดินมาข้างหน้า จะให้อยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีเขตพื้นที่การศึกษา ถ้าไม่มี สพป.,สพม. เพราะมันก็จะกลับไปเป็น สพจ. ภายใต้การดูแลของศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมันไม่ใช่ แต่ก่อนซับสเตชั่น มีสำนักงานประถมศึกษา, มีศึกษาธิการอำเภอ ,ศึกษาธิการจังหวัด แล้วทำไมไม่ทำให้เป็นเหมือนเดิม เหมือนเดิมอย่างที่ว่าคือภารกิจของการศึกษา จึงเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส เพราะว่าได้อยู่บ้านหลังนี้ที่สังกัด สพป.จะไม่ขอโอนย้ายไปสังกัดศึกษาธิการจังหวัด มันจะเป็นไปได้อย่างไร ที่ศึกษาธิการจังหวัดจะมาเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตเปรียบเสมือนบ้าน หมู่บ้านที่ต้องมีลูกบ้านนั่นคือโรงเรียน เปรียบเสมือนหมู่บ้านหนึ่งมี 300-400 หลังคาเรือน แต่อีกหมู่บ้านหนึ่งพึ่งเพิ่งจะไปตั้งหมู่บ้าน แต่มาวันหนึ่ง หมู่บ้านหนึ่งบอกว่าให้ย้ายมาอยู่ร่วมกัน นั่นก็คือศึกษาธิการจังหวัด
ดร.ภูมิภัทร กล่าวด้วยว่า ในการประชุมในการศึกษารายละเอียดรายมาตรา เสนอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ….(ฉบับรัฐบาลตามหนังสือ สคก. 660/2564) ก่อนนำเข้าพิจารณาในรัฐสภา จึงเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส คำว่าโอกาสคือคนที่อยู่ใกล้ชิดข้อมูล คือ คนที่อ่านร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้จะได้เปรียบ กระโดดลงเวทีเลย ถ่ายโอนไปศึกษาธิการจังหวัด คือใครที่มีคนข้อมูลคนนั้นชนะแต่เราไม่มีข้อมูล ไม่รู้เรื่องเลยเรื่องนี้เลย เพื่อนผมที่สอบเป็น ผอ. เขตปี 2557 กว่า 70% เลือกที่จะลงศึกษาธิการจังหวัด ดร.ภูมิภัทร กล่าวอีกว่าความสำคัญของเขตพื้นที่การศึกษา นั้นต้องมีอยู่ ดังนั้นพวกเราต้องมีความมั่นใจว่า ครอบครัวเราเป็นครอบครัวใหญ่ โรงเรียนที่มีอยู่ในสังกัดมีเป็น 100, 200 และ 300 โรงเรียน โอกาสที่เราจะไม่มีเขตพื้นที่การศึกษาจึงเป็นเรื่องที่แทบจะไม่มีเลย ในมุมนี้มีความต้องการที่จะให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไปสังกัด ศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ วันนี้มาคุยกันว่าบ้านเราจะเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรงได้อย่างไรวันนี้เรามาคุยกันว่าบ้านเรา เป็นบ้านที่มั่นคงและแข็งแรง
ดร.ภูมิภัทร กล่าวด้วยว่าเป็นไปได้ไหมว่า จะเชิญผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) คณะผู้บริหารสถานศึกษา มาร่วมปรึกษาหารือแก้ไขเอาประเด็นที่มีความสำคัญ และก็ตรงไปตรงมา หลังจากนั้นมอบอำนาจ ลงรายชื่อมอบให้ในวันที่กรรมาธิการฯจะพิจารณา ทราบว่าจะเข้าในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ที่จะถึงนี้ถ้าสถานการณ์โควิด รุนแรง อาจจะเลื่อน แต่ว่าเลื่อนหรือไม่เลื่อนมันไม่ใช่จุดสำคัญ มันสำคัญที่ในวันนี้ต้องการให้พวกเรามา ปรึกษาหารือกับสิ่งที่พวกเราไม่สบายใจ แล้วลงรายละเอียดตามที่พวกเรา สร้างขึ้นมา น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเรามีความมั่นใจมากขึ้น ที่สำคัญสุดคือ พี่น้องทั้งหลายที่เป็นรองผู้อำนวยการเขตอยู่ ซึ่งพวกท่านจะต้องมีโต ในอนาคต เสร็จแล้วไม่มีบ้านอยู่ แล้วจะโตไปทำไม
ภาพ/ข่าว:ชูไทย วงศ์บุญมี